ยกระดับการกระจายความเสี่ยงผ่านกลยุทธ์ในสกุลเงินต่างประเทศ

นักลงทุนส่วนใหญ่มักมองว่าการกระจายความเสี่ยงผ่านการลงทุนในสินทรัพย์ดั้งเดิม เช่น หุ้น ตราสารหนี้ รวมทั้งทองคำ

แต่แล้ว…กลับต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดเช่นปี 2022 ที่ไม่เพียงแต่ราคาตราสารหนี้และหุ้นปรับลงจนทำให้เกิดขาดทุนหนักในระดับสองหลัก แต่การลงทุนในทองคำที่น่าจะพยุงพอร์ตได้ก็ขาดทุนเช่นกัน แม้ภาวะตลาดทุนเช่นปี 2022 จะเกิดขึ้นเพียง 3 ครั้ง ในรอบ 30 ปี ที่ผ่านมาเท่านั้น แต่ก็สะท้อนว่าการเฟ้นหากลยุทธ์หรือสินทรัพย์ทางเลือกอื่นๆ เข้ามาเสริมความแข็งแกร่งของพอร์ตลงทุนมีความสำคัญมาก

เริ่มต้นปีนี้ แม้ภาพรวมจะดูดีขึ้น เพราะธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ชะลอการขึ้นดอกเบี้ย แต่ก็ยังไม่อาจวางใจได้ เพราะเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีท่าทีว่าจะแข็งแรงกว่าที่ประเมินไว้ ล่าสุด การจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นมากกว่า 5 แสนตำแหน่ง

อัตราการว่างงานลดลงต่ำสุดในรอบ 53 ปี และค่าจ้างเฉลี่ยรายชั่วโมงก็ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สะท้อนตลาดแรงงานที่ยังร้อนแรง ด้านยอดค้าปลีกเดือนมกราคมก็ขยายตัวสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2021 ทำให้นักเศรษฐศาสตร์บางส่วนมองว่ามีโอกาสที่สหรัฐฯ จะไม่เข้าสู่ภาวะถดถอยเลย (No Landing)

เศรษฐกิจที่แข็งแรงก็เหมือนดาบสองคม เพราะแม้จะเป็นข่าวดีให้คลายกังวลเรื่องภาวะถดถอย แต่อาจทำให้ FED ขึ้นดอกเบี้ยมากกว่าที่คาดไว้ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา คณะกรรมการ FED หลายท่านก็ออกมาย้ำว่าจะขึ้นดอกเบี้ยต่อจนกว่าจะมั่นใจว่าเงินเฟ้อลดลงเข้าใกล้เป้าหมาย ล่าสุด ตลาดประเมินว่า FED จะขึ้นดอกเบี้ยอีก 3 ครั้ง ไปทำระดับสูงสุดที่ 5.25-5.50% มากกว่า FED Dot Plot เดือนธันวาคมที่ 5.00-5.25%

ข่าวการเงิน

ส่งแรงกระเพื่อมไปทั้งตลาดหุ้นและตราสารหนี้ บอนด์ยีลด์สหรัฐฯ อายุ 10 ปี พุ่งขึ้นสู่ระดับเกิน 3.90% หลังจากที่ปรับลงแตะระดับราว 3.40% เมื่อช่วงต้นปี ด้านหุ้นโลกก็ปรับฐานลงจากจุดสูงสุดราว 4% (ณ 22 กุมภาพันธ์ 2023)

สินทรัพย์ประเภทหนึ่งที่ยังไม่แพร่หลายในบรรดานักลงทุนบุคคลมากนักคือ อัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินต่างๆ โดยนักลงทุนสามารถจับคู่สกุลเงินเพื่อซื้อหรือขายสัญญาฟิวเจอร์สได้ นอกจากโอกาสได้รับผลตอบแทนที่ดีแล้ว อีกหนึ่งจุดเด่นคือ การเปลี่ยนเปลงของค่าเงินมีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงราคาของสินทรัพย์อื่นค่อนข้างต่ำ เพราะหลายปัจจัยที่ขับเคลื่อนค่าเงินแตกต่างจากปัจจัยที่ส่งผลต่อผลตอบแทนในสินทรัพย์อื่น กลยุทธ์การลงทุนในเงินตราต่างประเทศจึงช่วยยกระดับการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตลงทุนโดยรวมได้ โดยเฉพาะในภาวะที่ตลาดหุ้น ตราสารหนี้ และโภคภัณฑ์ เคลื่อนไหวในทางเดียวกัน ดังเช่นปีที่แล้ว ที่แม้ราคาสินทรัพย์หลักส่วนใหญ่ปรับตัวลง แต่การลงทุนในสกุลเงินกลับให้ผลตอบแทนได้โดดเด่น

ดอลลาร์สหรัฐคือสกุลเงินหลักที่มักถูกนำไปจับคู่มากที่สุด และการจับคู่ซื้อขายสกุลเงินที่สร้างผลงานดีในปีที่แล้ว ได้แก่ การซื้อ Brazilian Real ของบราซิล และ Mexican Peso ของเม็กซิโก ที่แข็งค่าขึ้นกว่า 5% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ หรือการขายเงินเยนของญี่ปุ่น และเงินปอนด์ของอังกฤษ ที่อ่อนค่าลงมากกว่า 10% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ

ดังนั้นการวิเคราะห์และเลือกซื้อสกุลเงินที่คาดว่าจะให้ผลตอบแทนเป็นบวก และ/หรือ ขายสกุลเงินที่คาดว่าจะให้ผลตอบแทนเป็นลบจึงสามารถเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนได้อย่างดี

อย่างไรก็ตาม ความท้าทายของการลงทุนในสกุลเงินมีมากกว่าการลงทุนในสินทรัพย์ดั้งเดิม เพราะการเปลี่ยนแปลงของสกุลเงินขึ้นกับหลายปัจจัย ไม่เพียงแต่ปัจจัยพื้นฐาน เช่น การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ แต่รวมถึงกระแสเงินทุนไหลเข้า-ออก สถานะการเก็งกำไร อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นและระยะยาว ทิศทางการดำเนินนโยบายการเงิน

ตลอดจนนโยบายการแทรกแซงค่าเงินจากหน่วยงานกลางของแต่ละประเทศ กลยุทธ์ที่มีความซับซ้อนเช่นนี้ ต้องอาศัยทีมผู้จัดการกองทุนที่มีความเชี่ยวชาญ เข้าใจตลาดอัตราแลกเปลี่ยน และมีประสบการณ์ยาวนาน และที่สำคัญคือต้องบริหารเชิงรุก ติดตามผลการดำเนินงานรายวัน และพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนสถานะการลงทุน รวมทั้งคู่สกุลเงิน เพื่อให้ทันกับสภาวะที่เปลี่ยนแปลง

จากความผันผวนที่ยังมีอยู่เสมอในโลกการลงทุน การกระจายความเสี่ยงในหลากหลายสินทรัพย์นอกเหนือไปจากสินทรัพย์แบบดั้งเดิม จึงเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างขุมทรัพย์ลงทุนระยะยาว แนะนำข่าวเพิ่มเติม>>> ธนาคารกรุงศรีฯ ประกาศแผนธุรกิจปี 66 เน้นความยั่งยืน ต่อยอดด้านนวัตกรรม

ธนาคารกรุงศรีฯ ประกาศแผนธุรกิจปี 66 เน้นความยั่งยืน ต่อยอดด้านนวัตกรรม

ธนาคารกรุงศรี มุ่งสู่อาเซียน ประกาศแผนธุรกิจปี 66 เน้นความยั่งยืน พร้อมต่อยอดด้านนวัตกรรม เพื่อประโยชน์ต่อลูกค้าทั้งในประเทศไทย และอาเซียน

นายเซอิจิโระ อาคิตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ขณะที่เรากำลังก้าวเข้าสู่ปีสุดท้ายของแผนธุรกิจระยะกลางฉบับปัจจุบัน หากย้อนกลับไปจะเห็นถึงความสำเร็จที่เกิดขึ้นมากมาย อย่างเช่น เรื่องของการเชื่อมโยงโครงข่ายในอาเซียนสู่ตลาดหลักๆ ในภูมิภาค การเติบโตอย่างแข็งแกร่งแม้ในช่วงท้าทายของสถานการณ์การระบาดของโควิด

โดยความยืดหยุ่นในการปรับตัว และพัฒนาการที่สำคัญสู่เป้าหมายด้าน ESG สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นความสำเร็จที่เกิดขึ้นระหว่างปี 2564-2565 ที่เราเชื่อมั่นว่า จะเป็นฐานรากที่แข็งแกร่งให้กรุงศรีฯ สามารถเดินหน้าสู่อนาคตที่ยั่งยืนเพื่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม

ในปี 2566 นี้ จะเป็นปีที่ทุกคนจะได้เห็นการยกระดับตำแหน่งของกรุงศรีฯ ในอาเซียน ในการดำเนินธุรกิจบนแนวทาง ESG และในการต่อยอดความเป็นผู้นำด้านดิจิทัลและนวัตกรรม เพื่อการเติบโตของธุรกิจ

นายเซอิจิโระ กล่าวอีกว่า สำหรับปี 2566 ถือเป็นปีที่ท้าทายจากการที่ประเทศเศรษฐกิจหลัก กำลังเผชิญกับความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย ผลจากการเปิดประเทศของจีนที่ยังคงไม่ชัดเจนนัก แต่อุปสงค์ในภาคบริการน่าจะเติบโตเร็วขึ้นกว่าอุปสงค์ต่อสินค้า การเติบโตของเศรษฐกิจในอาเซียนชะลอตัวลงอยู่ที่ 4.9% ในปี 2566 จาก 5.3% ในปี 2565 แต่ยังคงเป็นภูมิภาคที่เติบโตเร็วที่สุด

นอกจากประเทศไทยแล้ว ประเทศเวียดนาม ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย มีการเติบโตที่ดี โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนจากอุปสงค์ภายในประเทศ และการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวต่างประเทศ รวมทั้งข้อตกลงการค้าเสรีที่รวมถึง RCEP และเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) ที่ไหลเข้ามา

ด้วยกลยุทธ์ของกรุงศรีฯ เราหวังที่จะก้าวข้ามความท้าทายเหล่านี้ไปได้ และจะอาศัยข้อได้เปรียบจากโอกาสต่างๆ ที่มีในอาเซียน โดยการปรับตัวให้เข้ากับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไป และเสนอโซลูชันที่เหมาะสมสำหรับลูกค้าธุรกิจ และลูกค้ารายย่อยทั่วภูมิภาค

กรุงศรีฯ คาดว่าในปี 2566 เงินให้สินเชื่อจะเติบโตที่ 3-5% และตั้งเป้าหมายของส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ หรือ NIM อยู่ที่ 3.5% ซึ่งคาดว่ารายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย (Non-Interest Income) จะยังอยู่ในระดับเดียวกับปีที่ผ่านมา และอัตราส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL Ratio) อยู่ที่ราว 2.5-2.6%

การเงิน-ธนาคารกรุงศรีฯ

ทั้งนี้ กรุงศรีฯ มุ่งมั่นเดินหน้าเพื่อบรรลุเป้าหมายสู่การเป็น สถาบันการเงินไทยที่เป็นที่หนึ่งในใจลูกค้า พร้อมเชื่อมโยงความต้องการของลูกค้าทั่วทั้งภูมิภาคอาเซียน ผ่าน กลยุทธ์ 3 ด้าน ได้แก่ การดำเนินธุรกิจที่เชื่อมโยงภูมิภาคอาเซียน (ASEAN-Linked Business) ผ่านนวัตกรรมบริการด้านการเงิน

การดำเนินธุรกิจที่เชื่อมโยงกับความยั่งยืนตามโมเดล ESG (ESG-Linked Business) เพื่อเป็นธนาคารพาณิชย์ที่ยั่งยืนที่สุดของประเทศไทย รวมถึงการเป็นหนึ่งในผู้นำในธุรกิจการเงินเพื่อความยั่งยืน และการพัฒนาด้านดิจิทัลและนวัตกรรม (Digital & Innovation) ด้วยการเดินหน้าสร้างสรรค์นวัตกรรม ผลิตภัณฑ์ และบริการดิจิทัลเพื่อประโยชน์ต่อลูกค้าทั้งในประเทศไทยและอาเซียน

อ่านข่าวเพิ่มเติม : หากถูกธนาคารปฏิเสธให้กู้เงินอ้าง ติดเครดิตบูโร ต้องทำอย่างไร?

หากถูกธนาคารปฏิเสธให้กู้เงินอ้าง ติดเครดิตบูโร ต้องทำอย่างไร?

หากถูกธนาคารปฏิเสธให้กู้เงินโดยอ้างว่าติดเครดิตบูโร

สามารถขอตรวจเครดิตบูโรได้ที่ศูนย์ตรวจเครดิตบูโรทุกแห่ง ภายใน 30 วัน นับจากวันที่หนังสือแจ้งปฏิเสธสินเชื่อ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

นายสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ เครดิตบูโร เปิดเผยว่า ขณะนี้อยู่ในช่วงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากสถานการณ์โควิด-19 ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจในวงกว้าง ทำให้ประชาชนประสบปัญหาภาระหนี้สินและต้องการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อฟื้นตัวได้ จึงมีจำนวนการยื่นขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกของเครดิตบูโรมากเพิ่มขึ้น ซึ่งหากสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกมีเหตุให้ต้องปฏิเสธการให้สินเชื่อ โดยมีการอ้างว่าเป็นเพราะเครดิตบูโรนั้น ตาม พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ. 2545 ได้กำหนดการคุ้มครองให้ความเป็นธรรมแก่เจ้าของข้อมูล (ตัวท่าน) ที่คุ้มครองดูแลประชาชน

ดังนั้น เมื่อถูกปฏิเสธ/ไม่ให้สินเชื่อ โดยมีการอ้างว่าเป็นเพราะ “เครดิตบูโร” เพียงนำหนังสือแจ้งปฏิเสธสินเชื่อจากสถาบันการเงินหรือบริษัทที่เป็นสมาชิกมาแสดงหลักฐาน พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงของตนเอง สามารถตรวจเครดิตบูโรฟรี! ได้ที่ศูนย์ตรวจเครดิตบูโรทุกแห่ง ภายใน 30 วันนับจากวันที่ในหนังสือแจ้งปฏิเสธสินเชื่อ

ทั้งนี้ การพิจารณาสินเชื่อเป็นดุลยพินิจของสถาบันการเงิน ซึ่งขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อ หรือนโยบายสินเชื่อของแต่ละสถาบันการเงินในขณะนั้น ซึ่งอาจแตกต่างกันไปในสถาบันการเงินแต่ละแห่ง ข้อมูลเครดิตเป็นเพียงส่วนประกอบส่วนหนึ่งในการนำไปประกอบการพิจารณาสินเชื่อเท่านั้น นอกเหนือจากข้อมูลจากแหล่งอื่น ที่สถาบันการเงินใช้ประกอบการพิจารณา เช่น รายได้ รายจ่าย อาชีพ ประวัติการออม อายุงาน หรือ หลักทรัพย์ค้ำประกัน เป็นต้น

หากปรากฏว่าสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกของบริษัทได้ปฏิเสธสินเชื่อแก่ลูกค้าโดยเหตุเพราะการตรวจสอบข้อมูลเครดิตจากบริษัท สถาบันการเงินแห่งนั้นจะต้องมีหนังสือปฏิเสธสินเชื่อให้แก่ลูกค้า พร้อมแจ้งที่อยู่ของบริษัทข้อมูลเครดิตที่เป็นสถาบันการเงินที่ใช้ตรวจสอบข้อมูล และท่านสามารถนำหนังสือปฏิเสธสินเชื่อที่ได้จากสถาบันการเงินไปขอตรวจสอบข้อมูลเครดิตของตนเองได้ที่บริษัทข้อมูลเครดิตโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
ท่านสามารถนำหลักฐานมาแสดงเพื่อยื่นตรวจเครดิตบูโรได้ที่

วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 9.00-16.30 น.
ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร อาคารเดอะไนน์ ทาวเวอร์ส แกรนด์ พระรามเก้า ชั้น 2 (โซนพลาซา) (อยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT พระราม 9 และอยู่ด้านหลังห้างเซ็นทรัล พระราม 9)
วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 9.00-18.00 น.
เครดิตบูโรคาเฟ่ อาคารเพิร์ล แบงก์ค็อก ชั้น 3 (โซนธนาคาร) (BTS สถานีอารีย์ ทางออก 1)
ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร สถานีรถไฟฟ้า BTS ศาลาแดง (ภายในสถานี)
Bureau Lab (บูโรแล็บ) ท่าเรือวังหลัง (บริเวณทางเข้า-ออก ท่าเรือ และใกล้ประตู 8 ของโรงพยาบาลศิริราช)
วันจันทร์ – วันอาทิตย์ เวลา 9.00-18.00 น.
Bureau Lab (บูโรแล็บ) สถานีรถไฟฟ้า BTS หมอชิต (ภายในสถานี)
ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร ห้างเจ-เวนิว (นวนคร) ชั้น 3 ติดประกันสังคม
นอกจากนี้ ท่านสามารถใช้บริการตรวจเครดิตบูโรแบบสรุป (ฟรี) ที่สะดวกสบาย รวดเร็วหลากหลาย

สำหรับข้อมูลเครดิตแบบสรุป จะประกอบด้วยข้อมูลจำนวนบัญชีสินเชื่อ ที่จะแสดงจำนวนบัญชีทั้งหมด บัญชีที่เปิดอยู่ บัญชีที่ปิดแล้ว วงเงินสินเชื่อรวม และยอดหนี้คงเหลือรวม รวมทั้งจะมีประเภทบัญชีสินเชื่อ ได้แก่ บัตรเครดิต สินเชื่อบุคคล บ้าน เช่าซื้อ อื่น ๆ และยอดหนี้คงเหลือแต่ละประเภทบัญชีอีกด้วย

ทั้งนี้ รายงานข้อมูลเครดิตแบบสรุป เป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับเจ้าของข้อมูล เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนขอสินเชื่อ เพื่อตรวจสอบจำนวนบัญชีสินเชื่อ และยอดหนี้ที่ถูกจัดเก็บไว้ในเครดิตบูโรเท่านั้น ไม่สามารถนำไปอ้างอิงต่อบุคคลใดได้ กรณีที่ท่านตรวจข้อมูลเครดิตของตนเองผ่านช่องทางต่างๆ ที่เครดิตบูโรให้บริการนั้น จะตรวจเครดิตบูโรกี่ครั้งก็ไม่มีผลต่อการพิจารณาขอสินเชื่อของธนาคารหรือสถาบันการเงินแต่อย่างใด เนื่องจากเป็นสิทธิพื้นฐานในการเข้าถึงข้อมูลเครดิตของตนเอง

ข่าวอื่นๆ “CEA” เปิดตัวโครงการ “HERB TO GO สมุนไพรไทยพร้อมไปต่อ”

“CEA” เปิดตัวโครงการ “HERB TO GO สมุนไพรไทยพร้อมไปต่อ”

“CEA” เปิดตัวโครงการ “HERB TO GO สมุนไพรไทยพร้อมไปต่อ” โมเดลพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก มุ่งยกระดับวิสาหกิจชุมชน เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA เปิดตัวโครงการ “HERB TO GO สมุนไพรไทยพร้อมไปต่อ” โมเดลพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากที่จะช่วยพัฒนายกระดับวิสาหกิจชุมชน ด้วยการใช้แพลตฟอร์มความร่วมมือเเละความคิดสร้างสรรค์ต่อยอดสินค้าและบริการ ดัน 3 จังหวัดต้นเเบบ ได้แก่ กระบี่ สกลนคร สมุทรปราการ มุ่งใช้สมุนไพรท้องถิ่น ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว สร้างจุดขาย เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ ตั้งเป้าต่อยอดโมเดลสู่จังหวัดอื่นๆ ต่อไป

เศรษฐกิจหมุนเวียน

ภายในงาน ณ ห้อง Auditorium ชั้น M สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ดร.อรรชกา สีบุญเรือง ประธานกรรมการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เป็นประธานเปิดงานโดยมี ศ.ดร.กนก วงษ์ตระหง่าน รองประธานคณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากเเละประเทศ นางสาวสกุณา สาระนันท์ สมาชิกผู้เเทนราษฏร เขต 5 จังหวัดสกลนคร และนางสาวพิมพ์รพี พันธุ์วิชาติกุล สมาชิกผู้เเทนราษฏร จังหวัดกระบี่ให้เกียรติร่วมเสวนา พร้อมแชร์ประสบการณ์ในการพัฒนาชุมชน โดยมี ดร.ชาคริต พิชยางกูร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ นำคณะผู้จัดงานให้การต้อนรับ ท่ามกลางผู้มีเกียรติและสื่อมวลชนร่วมงานจำนวนมาก

ดร.ชาคริต พิชญางกูร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ CEA เปิดเผยว่า CEA มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้นำเสนอโมเดลการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก โดยใช้กระบวนการสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ (Value Creation) ให้แก่สมุนไพรไทย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจชีวภาพและเป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่งประเทศไทยของเรานั้นตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้น ทำให้มีความหลากหลายของพันธุ์พืชสูง ตลาดสมุนไพรไทยจึงเป็นตลาดที่มีการเติบโตสูงอย่างต่อเนื่องในเอเชียและยุโรป ซึ่งสินทรัพย์ล้ำค่าเหล่านี้มีอยู่ในท้องถิ่นทั่วประเทศ “CEA จึงเล็งเห็นช่องทางการนำมาพัฒนาต่อยอดด้วยความคิดสร้างสรรค์ผนวกกับองค์ความรู้ด้านการพัฒนาธุรกิจ นวัตกรรม สร้างเป็นแบรนด์สินค้าและผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรไทย ที่สามารถยกระดับวิสาหกิจชุมชน สู่การเพิ่มมูลค่าธุรกิจ ส่งเสริมคุณภาพชีวิตชุมชนให้ดียิ่งขึ้นเเละการต่อยอดเชิงพาณิชย์ในตลาดท้องถิ่นเเละตลาดสากลต่อไป”

ดร.ชาคริต กล่าวต่อไปว่า CEA เป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญในการเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์ผ่านโครงการเเละกิจกรรมในรูปเเบบต่างๆ “HERB TO GO สมุนไพรไทยพร้อมไปต่อ” นับเป็นโครงการสร้างมูลค่าสินค้าไทยจากเศรษฐกิจท้องถิ่น (Value Creation) โดยมุ่งสร้างโมเดลต้นแบบธุรกิจสมุนไพรที่ส่งเสริมและสร้างรายได้ ขยายโอกาส รวมทั้งความยั่งยืนให้แก่วิสาหกิจ ด้วยกระบวนการ Space Compass Creation:Service Journey นั่นคือ ร้อยเรียงเส้นทางสร้างมูลค่าเพิ่มในการพัฒนาสมุนไพรไทย โดยดึงจุดเเข็งและจุดขายของแต่ละท้องถิ่น พร้อมโจทย์ของตลาดนำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพ และมาตรฐาน แล้วเพิ่มคุณค่าด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสม

ตลอดจนสร้างความพิเศษให้โดดเด่นด้วยการบอกเล่าเรื่องราวเฉพาะของท้องถิ่น ภายใต้คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เเล้วลงมือทำจริงแบบครบวงจร เพื่อให้วิสาหกิจชุมชนสามารถดำเนินการต่อไปเองได้