หน้าร้อนแบบนี้คนรักสัตว์ต้องเฝ้าระวัง โรคฮีสโรตกในสัตว์เลี้ยง ซึ่งเป็นหนึางโรคร้ายที่สามารถพรากชีวิตสัตว์เลี้ยงที่รักไปได้
รู้จัก! ฮีสโตรกในสัตว์เลี้ยง
ขอชวนเพื่อน ๆ ทาสหมา ทาสแมว มาเรียนรู้ ศึกษากับโรคฮีทโตรกในสัตว์เลี้ยงและการปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างถูกวิธี เพื่อลดความเสี่ยงในการเสียชีวิต หากสัตว์เลี้ยงมีอาการฮีทโตรกกัน
โรคฮีทโตรกในสัตว์เลี้ยง คือ
โรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก (Heat Stroke) ในสัตว์เลี้ยง เป็นภาวะที่ร่างกายของสัตว์ไม่สามารถระบายความร้อนออกมาได้ ทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงกว่าปกติ คือ สูงกว่า 41 องศาเซลเซียส ความร้อนที่เพิ่มมากขึ้นจะส่งผลเสียต่อการทำงานของอวัยวะภายในต่าง ๆ แถมโรคนี้ยังเกิดขึ้นได้กับสัตว์เลี้ยงทุกชนิดโดยเฉพาะน้องหมา น้องแมว และเสี่ยงชีวิตได้ด้วย หากร่างกายของพวกเขาไม่สามารถระบายความร้อนได้ทันก็จะเกิดภาวะฮีทสโตรกขึ้น
อาการฮีทสโตรก
อาการฮีทสโตรกสามารถเกิดขึ้นได้ง่ายและพบได้บ่อยในสุนัขมากกว่าแมว โดยเฉพาะสุนัขพันธุ์ที่ขนยาว ขนหนา และพันธุ์หน้าสั้น แถมอาการนี้ยังเกิดขึ้นได้ง่ายเพราะมีปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมภายนอกที่ส่งผล อาทิ สภาพอากาศร้อนชื้น การอยู่ในพื้นที่อบอ้าวอากาศถ่ายเทไม่ดี เป็นต้น โดย อาการของโรคลมแดด (Heat Stroke) ในสัตว์เลี้ยง มี 6 ข้อหลัก ๆ คือ
- อุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 41 องศาเซลเซียส หรือ 106 องศาฟาเรนไฮต์
- มีอาการหอบ หายใจเร็ว หายใจลำบาก หรือหายใจรุนแรงกว่าปกติ
- หัวใจเต้นเร็วผิดปกติหรือเต้นผิดจังหวะ
- น้ำลายไหล จมูกและปากเปียก
- เหงือกสีแดงเข้ม
- มีอาการชัก กล้ามเนื้อสั่นเกร็ง หมดสติ หรืออาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต
วิธีการปฐมพยาบาลโรค Heat Stroke ในสัตว์เลี้ยง
สิ่งสำคัญที่เจ้าของสัตว์เลี้ยงต้องให้ความใส่ใจ คือ การทำให้อุณหภูมิร่างกายของสัตว์เลี้ยงลดลงช้า ไม่เร็วจนเกินไป ด้วยวิธีการที่ถูกต้องง่าย ๆ ตามนี้
- ถ้าสัตว์เลี้ยงของเราอยู่ในที่อากาศร้อน แออัด ให้นำน้องมาอยู่ในที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวกทันที
- จากนั้นถอดเสื้อผ้าหรือปลอกคอที่ทำให้สัตว์อึดอัดออก
- ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัว รวมถึงเช็ดใต้ฝ่าเท้า รักแร้ และขาหนีบ เพื่อเป็นการช่วยระบายความร้อน
- ควรใช้น้ำอุณหภูมิห้องในการเช็ด ไม่ควรใช้น้ำเย็นจัดหรือน้ำที่อุ่นเกินไป เพราะสัตว์อาจเกิดภาวะช็อคได้
- นวดบริเวณขาองสัตว์เลี้ยง เพื่อกระตุ้นระบบไหลเวียนเลือด
และเมื่อเจ้าของปฐมพยาบาลเสร็จควรรีบนำสัตว์เลี้ยงไปโรงพยาบาล เพื่อให้สัตวแพทย์ได้ทำการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างละเอียด และห้ามให้ยาโดยไม่ได้รับการพิจารณาจากสัตวแพทย์เด็ดขาด เพราะเด็ก ๆ เสี่ยงได้รับอันตรายถึงชีวิตได้